หลักสูตร TPM การบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม Total Productive Maintenance ( TPM ) For IATF 16949

บทนำ
ระบบบริหารคุณภาพของอุตสาหกรรมยานยนต์ IATF16949 พบว่าได้มีการให้ความสำคัญกับระบบการดูแลรักษาเครื่องจักรเพื่อทำให้การผลิตชิ้นส่วนนั้นสามารถตอบสนองวัตถุประสงค์ของระบบจึงได้มีการบรรจุข้อกำหนดเรื่อง TPM ไว้เป็นหนึ่งกระบวนการที่ต้องพัฒนาให้เกิดขึ้น

ในการบริหารจัดการการผลิต พบว่ามีความสูญเสีย(Loss)เกิดขึ้นตลอดเวลา ทั้งจากการทำงานของคน เครื่องจักร พลังงาน การใช้วัสดุต่างๆ โดยที่ความสูญเสียนั้น มักไม่ได้รับการแก้ไขหรือจัดการอย่างเป็นระบบ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ต้นทุน การผลิตสูงขึ้นและปัญหาอื่นๆตามมา เช่นปัญหาคุณภาพ ผลผลิต การส่งมอบ ความปลอดภัย และขวัญกำลังใจ เป็นต้น

TPM ที่คนส่วนใหญ่มีความเข้าใจว่าเป็นระบบเพื่อการซ่อมบำรุงเครื่องจักรที่ทุกคนมีส่วนร่วมเท่านั้น แต่ความเป็นจริง TPM นับเป็นระบบบริหารจัดการการผลิต ที่มีประสิทธิผลในการลดความสูญเสียต่างๆ ลดต้นทุนการผลิต เป็นระบบที่ทุกคนมีส่วนร่วมเพื่อการลดความสูญเสียจนกลายเป็นวัฒนธรรมขององค์กรในที่สุด
โดยหลักสูตรนี้จะได้ศึกษาแนวทางการนำ TPM ไปประยุกต์ใช้ ทั้งภาคทฤษฏีและปฏิบัติ เพื่อให้ สามารถนำไปขยายผลต่อได้

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรนี้เข้าใจหลักการและความจำเป็นในการทำกิจกรรมการบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม (Total Productive Maintenance : TPM)
2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรนี้เข้าใจขั้นตอนการติดตั้งระบบ TPM ในองค์กรและสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับองค์กรในการทำระบบ IATF 16949

กลุ่มเป้าหมาย : ผู้จัดการ ขึ้นไป
จำนวนผู้เข้าอบรม : 30 คน/รุ่น

กำหนดการอบรม
• อธิบายข้อกำหนด IATF 16949 ข้อ 8.5.1.5 Total Productive Maintenance : TPM
• ความหมาย คำจำกัดความ และประวัติความเป็นมาของ TPM
• ความสูญเสีย 16 ประการและแนวคิดในการเพิ่มผลผลิตด้วย TPM
• กิจกรรม 8 เสาหลัก (Pillar) และความสัมพันธ์ในการดำเนินงาน
• ผลที่ได้จากการทำ TPM
• การดำเนินงาน TPM 12 ขั้นตอน
• การคำนวณดัชนีชี้วัดของ TPM
– OEE : Overall Equipment Effectiveness
– MTBF : Mean Time Before Failure
– MTTR : Mean Time To Repair
• กิจกรรมกลุ่มย่อย Small group และเครื่องมือ 3 ประการ
– การประชุมกลุ่ม
– OPL : One Point Lesson
– บอร์ดกิจกรรม
• การจัดทำมาตรฐานการดูแลเครื่องจักรโดย Operator
• แนวคิดการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน และการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์
• Q&A

รูปแบบการอบรม
– บรรยาย 30% Workshop 70%
– ทำกิจกรรมกลุ่มในการประเมินและร่วมกันระดมความคิด

Total Page Visits: 1491 - Today Page Visits: 2