หลักสูตร Policy Management การบริหารนโยบาย 2 วัน

บทนำ
ในสภาวะการปัจจุบันที่การแข่งขันทางธุรกิจมีความรุนแรงมากขึ้น องค์กรธุรกิจต่างๆจึงต้องมีการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง โดยเริ่มที่จะใช้แนวคิดการจัดการสมัยใหม่เข้ามาช่วยในการบริหารและการดำเนินงานมากยิ่งขึ้น แนวคิดการบริหารที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน คือ การบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร Total Quality Management TQM  (JUSE , คณะกรรมการ Deming Prize) ได้ให้ความหมายว่า “กิจกรรมที่เป็นระบบ ( Systematic Activities ) ที่บริษัทดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของบริษัทอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้าผ่านสินค้าและบริการด้วยราคาและเวลาส่งมอบที่เหมาะสม”

การบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร Total Quality Management : TQM มาจากคำว่า TQC (Total Quality Control) ของญี่ปุ่น หรือบางทีญี่ปุ่นก็เรียกว่า “CWQC” (Company-Wide Quality Control) ในญี่ปุ่นสับสนกับ คำว่า QC ควบคุมคุณภาพ เมื่อใช้เป็นภาษาญี่ปุ่นกลับแปลว่า ‘ฮินชิทสุ คันริ’ ซึ่งหมายถึง QM บริหารคุณภาพ ทำให้ทุกวันนี้ทั่วโลกรู้จักหลักการบริหารชนิดนี้ในนาม การบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร Total Quality Management TQM


การบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร Total Quality Management TQM มีแนวทางการเริ่มหลายแบบขึ้นอยู่กับปัญหาที่พบ ณ ช่วงนั่นๆที่เริ่มว่ามีปัญหาใดสำคัญ สำหรับองค์กรที่ยังไม่มีระบบอะไรเลยอาจยากที่จะนำ TQM เข้ามาบูรณการได้จึงมักแนะนำให้เริ่มจาก Bottom up Activities และให้การศึกษาควบคู่กันไป แต่ในกรณีที่องค์กรมีความพร้อมแล้ว อาจเริ่มจาก Cross Functional Management เพื่อสถาปนากระบวนการทางธุรกิจในภาพรวมรวมก่อน และค่อยกระจายหน้าที่งานไปในแต่ละฝ่ายโดยทำ Daily Management หลักจากนั้นควรมีการทบทวนเป้าหมายการบริหารองค์กรอย่างต่อเนื่องและนำไปสู่การปฏิบัติโดย Policy Management

JUSE ได้ให้คำนิยามของ Policy Management หมายถึง “กิจกรรมที่ทำร่วมกันทั่วทั้งบริษัทเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายของแผนงานหรือนโยบายระยะยาว ระยะกลาง และระยะสั้น ที่กำหนดขึ้นมาเป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจ

ดังนั้น Hoshin Kanri เมื่อแปลความหมายจึงมักเรียกว่า การบริหารจัดการนโยบาย หรือ Policy Management ) เป็นการดำเนินการแบบ Top-Down ที่มีการเรียงลำดับความสำคัญของงาน และการจัดสรรทรัพยากร บุคคลากร ทรัพย์สิน และข้อมูลไปใช้ตามลำดับความสำคัญของงานนั้นๆ โดยมุ่งที่จะ “หลุดพ้นจากสภาพเดิม” (Breakthrough) หรือหลุดพ้นจากสภาวะที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
ระบบการบริการนโยบาย Suyama’s style
วัตถุประสงค์
เพื่อทำให้พนักงานในทุกระดับที่ต้องมีการทำงานร่วมกันเข้าใจหลักการบริหารโดยนโยบาย โดยใช้แนวคิดของ Suyama และนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการบริหารงานในฝ่ายของตนจนเกิดผลลัพธ์ที่ต้องการ

กลุ่มเป้าหมาย : ประธานกรรมการ ผู้จัดการ หัวหน้างาน
จำนวนผู้เข้าอบรม : 30 คน/รุ่น
กำหนดการอบรม 2 วัน 09.00-16.30

หัวข้อสัมมนา
บทนำ
– วิวัฒนาการของ TQM , TQM คืออะไร
– รูปแบบแนวคิด TQM : The Juse’s TQM Model , JapaneseStandard Association , TVM Model Dr.Veerapot Lueprasitsakul ,Thailand Quality Award , Kano’s House
การบริหารนโยบาย (Policy Management)
– Hoshin Kanri หรือ Policy Management คืออะไร
– Hoshin Tenkai หรือ Policy Deployment คืออะไร
– ปัญหาของการบริหารโดยใช้นโยบาย
ขั้นตอนการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ
PLAN
– นโยบายของประธาน : การกำหนดเป้าหมายและมาตรการปฏิบัติ
– การกำหนด Management Point หรือ Control Point
– ตัวอย่างเอกสารนโยบายของกรรรมการผู้จัดการ
– Workshop
– นโยบายของผู้จัดการ : การกำหนดเป้าหมายและมาตรการปฏิบัติ
– C-E Policy Deployment สำหรับกำหนดนโยบายผู้จัดการ
– ตัวอย่าง เอกสารนโยบายของผู้จัดการ
– Workshop
– C-E Policy Deployment วิเคราะห์มาตรการดำเนินงานระดับแผนก
– ตัวอย่าง เอกสารแผนกิจกรรรม
– Workshop
DO
– การสื่อสารและทำความเข้าใจแผนงาน
– การปฏิบัติและการควบคุมการดำเนินงานตามแผน
CHECK
– ประเมินผลการปฏิบัติตามแผน
– การตรวจสอบจุดควบคุม (Control Point) และบ่งชี้ปัญหา
ACTION
– การแก้ไขปัญหา
– แก้ไขปรับปรุงระบบและมาตรฐานการปฏิบัติงาน
การวินิจฉัยโดยผู้บริหารระดับสูง
Q&A

รูปแบบการอบรม
ทฤษฏี 40 % และปฏิบัติ 70%
Workshop เสมือนจริงโดยกำหนดนโยบายของประธานกรรมการจนได้แผนการปฏิบัติ ( PLAN)

Total Page Visits: 1969 - Today Page Visits: 1